วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 ประจำวันพุธ ที่ 15 มีนาคม 2560





นำเสนอบทความ
1. นางสาว วราภรณ์  แทนคำ เลขที่ 19
ผู้บริหารที่ดีเวลาลูกน้องขอความช่วยเหลือควรเปิดโอกาสให้เขาได้แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง






สอนเรื่อง เทคนิคการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีสำหรับการเป็นผู้บริหาร






ความหมายของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพแบ่งออกเป็น 2 สภาพ ด้วยกันคือ

-บุคลิกภาพภายนอก คือ สามารถสังเกตเห็นหรือสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น กาย สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้โดยการฝึก
-บุคลิกภาพภายใน หมายถึง บุคลิกภาพที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นส่วนมี่สัมผัสได้ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลาในการสัมผัส

ประเภทของบุคลิก
บุคลิกภายนอก
1. รูปร่างหน้าตา
2. การแต่งกาย
3. กิริยาท่าทาง
4. การพูด

บุคลิกภาพภายใน


1. ความเชื่อมั่นในตนเอง                    2. ความกระตือรือร้น
3. ความรอบรู้                                     4. ความคิดริเริ่ม
5. ความจริงใจ                                    6. ไหวพริบปฏิภาณ
7. ความรับผิดชอบ                             8. ความจำ
9. อารมณ์ขัน


.








การประเมิน

ประเมินตนเอง
 มาเรียนตรงเวลา แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนส่วนมากมาเรียนตรงเวลา แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนและปล่อยตรงเวลา แต่งกายมาสอนเหมาะสม อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจง่าย

ประเมินห้องเรียน
 อุปกรณ์สะดวกต่อการใช้สอย โต๊ะมีจำนวนเพียงพอ

















วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 ประจำวันพุธ ที่ 8 มีนาคม 2560








ความรู้ที่ได้รับ

นำเสนอคำคม

1.นางสาวปัณฑิตา  คล้ายสิงห์  เลขที่11

คำคมของขงเบ้งเล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว
เดินหมากรุกยังต้องคิด เดินหมากชีวิต จะไม่คิดได้อย่างไร





2. นางสาว ชนากานต์  แสนสุข เลขที่ 12



จงมีความสุข กับชีวิตของตัวคุณเอง
โดยที่ไม่ต้องเปรียบเทียบกับชีวิตของใคร










3. นางสาว สุจิตรา มาวงษ์ เลขที่ 24

 มังกรถ้าได้ไร้หัว หางก็ตีกันเอง
ถ้าคานบนเอน คานล่างก็เบี้ยว
ถ้าเสาเอกเฉียง เสาโทก็เฉ





4. นางสาว ภัทรวรรณ หนูแก้ว เลขที่ 16

อย่าจำจัดความคิดไว้แค่ปัจจุบัน
แต่จงมองออกไปให้ไกล
สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
ที่นำความปลื้มปิติยินดีมาสู่โลกใบนี้






5. นางสาว ศุทธินี  โนนบริบูรณ์ เลขที่ 15



 หยุดคิดชีวิตจะล้าหลัง เมื่อใดที่เราหยุดคิด หยุดฝัน หยุดทำ
ความก้าวหน้าก็จะไม่เกิดขึ้น และอนาคตของชีวิตเราก็จะล่าหลังไปกับผู้อื่น








นำเสนอวิจัยที่เกี่ยวข้องการบริหาร  (งานกลุ่ม )


กลุ่มที่ 1  วิจัยเรื่อง  ความเป็นผู้บริหารมือชีพของมหาบัณฑิต 






ผู้วิจัย    อัญชลี พิมพ์พจน์   ปีการศึกษา   2553

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 

1. เพื่อศึกษาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใน 9 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน  ด้านการบริหารกิจการนักเรียน ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิจัยทางการศึกษา  ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ตามความคิดเห็นของมหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานขิงมหาบัณฑิต
2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของมหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานของมหาบัณฑิตในความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ของมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา   มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำแนกตามสถานภาพ หน่วยงานที่สังกัดและปีที่สำเร็จการศึกษา

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.  มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์การใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารการศึกษา
อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรม และระบบ
คุณค่าแห่งสังคมไทยโดยรวม ท้องถิ่นและชุมชน
2.  เป็นนักบริหารมืออาชีพที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ก้าวทันมิติแห่งการเปลี่ยนแปลง
3.  มีความรู้ความสามารถในการศึกษาค้นคว้าและวิจัย เพื่อประโยชน์ต่อการบริหาร
การศึกษาให้บรรลุผล และมีความรู้ความสามารถในการศึกษาค้นคว้า สามารถนําเอา
ทฤษฎีหรือผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการบริหารการศึกษา
4.  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทํางาน
5.  มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และมีคุณธรรมจริยธรรม






กลุ่มที่ 2  วิจัยเรื่่อง การศึกษาสมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ






วัตถุประสงค์ของการวิจัย 

1. เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ ในด้านการจัดการการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศ และการส่งเสริมการวิจัย
2. เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ ในด้านการจัดการการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศ และการส่งเสริมการวิจัยจำแนกตามตัวแปรประสบการณ์สอนและขนาดของโรงเรียน
3. เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ

สะท้อนองค์ความรู้ที่ได้จากวิจัย

สมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูปฐมวัยโดยรวมครูปฐมวัยที่มีประสบการณ์สอนต่างกันมีความคิดเห็นต่อ สมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาหลักสูตรโดยครูที่มีประสบการณ์สอน 5 ปีขึ้นไปมีสมรรถนะการบริหารงานวิชาการมากกว่าครูที่มีประสบการณ์สอนต่ำกว่า 5 ปี การปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา




กลุ่มที่ 3 วิจัยเรื่อง การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย    การศึกษาระดับ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต   มหาวิทยาลัยศิลปกร
ผู้วิจัยนางสาวกัญวัญญ์  ธารีบุญ   ปีการศึกษา 2557






วัตถุประสงค์ของการวิจัย 

1. เพื่อทราบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
2. เพื่อทราบประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารศาสตร์ศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
3. เพื่อทราบการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมจะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ
  2. เพื่อให้บุคลากรรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญในหน้าที่ของตน และรู้สึกว่าตนเองมีค่าต่อทีมเสมอ
  3. เกิดการยอมรับ และสร้างความมั่นใจในคุณค่าของการทำงานเป็นทีม และรู้สึกว่าตนเองมีค่าต่อทีมเสมอ และแสดงความสามารถมากขึ้น
  4. ส่งผลให้องค์การมีโอกาสก้าวหน้าในงาน เกิดความรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จ จะช่วยจูงใจให้เกิดการเสียสละ อุทิศตนในงาน
  5. โรงเรียนเอกชนระดับปฐมวัยสามารถนำงานวิจัยชิ้นนี้ไปพัฒนาโรงเรียนของตนเองได้









                              






วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 ประจำวันพุธ ที่ 1 มีนาคม 2560







ประจำวันพุธ ที่ 1 มีนาคม 2560




SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหา จุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาส าคัญในการด าเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต

SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
 Strengths
- จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ

Weaknesses 
- จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ

 Opportunities
- โอกาสที่จะดาเนินการได้

 Threats -
 อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ



ประโยชน์และความรู้ที่ได้รับ
 ได้รู้จักการวิเคราะห์เชิงปฏิบัติ รู้ว่า SWOT คืออะไรเป็นแบบไหนสามารถนำมาใช้อย่างไร รู้จักตนเองจากการใช้ SWOT การวิเคราะห์การบริหารจัดการตนเอง




ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลา แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรม การยอมรับตนเองฟังและจดบันทึกขณะที่อาจารย์กำลังสอน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงเวลา สอนสนุก เข้าใจง่ายและมีกิจกรรมบรรยากาศในการเรียนน่าสนใจ

ประเมินห้องเรียน
 อุปกรณ์สะดวกต่อการเรียน โต๊ะมีจำนวนเพียงพอต่อนักศึกษา 






บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 ประจำวันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560






                                     
                                                         วันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560


ความรู้ที่ได้รับ

***นำเสนองาน***










กลุ่มที่ 6 ศูนย์เด็กเล็ก



ความหมาย.. .

        สถานที่ดำเนินการรับเลี้ยงเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี จำนวนตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป โดยผู้ดำเนินการมิใช่ญาติกับเด็กซึ่งอาจมีคำเรียกแตกต่างกันไป เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์รับเลี้ยงเด็กก่อนเกณฑ์และสถานรับเลี้ยงเด็กเป็นต้น 

ความสำคัญ.. .
  เป็นการจัดการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัยความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นการสร้างรากฐานชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์.





ตัวอย่างโรงเรียน คือ ศูนย์เด็กเล็กบ้านเตราะบอน จ.ปัตตานี.

กลุ่มที่ 7 ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย
ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย คือ 
     ศูนย์เลี้ยงดูเด็กเล็กให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่สมบูรณ์

 ตัวอย่างโรงเรียน คือ ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล.








กลุ่มที่ 8 โรงเรียนชั้นเตรียมประถม
 >>> คือ เด็กมีสิทธิ์เริ่มเข้าชั้นเตรียมประถม เมื่อมีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ชั้นเตรียมประถม เป็นการศึกษาอีกประเภทหนึ่ง ที่นำกิจกรรมสร้างสรรค์ และการเล่นเพื่อการเรียนรู้มาใช้เป็นส่วนใหญ่
ชั้นเตรียมประถมมีลักษณะ ดังนี้
       เป็นการศึกษาเชื่อมต่อจากชั้นอนุบาลไปสู่การศึกษาภาคบังคับหรือขั้นพื้นฐาน โดยจะผสมผสานรูปแบบการดำเนินงานและวิธีการ ระหว่างโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนขั้นพื้นฐานเข้าด้วยกันรียมประถมมีลักษณะ

ตัวอย่างโรงเรียน คือ  โรงเรียนต้นแบบ “เรียนรู้จากการเล่น" รร.สาธิต มศว.ประสานมิตร(ฝ่ายประถม)




เนื้อหาที่เรียนในวันนี้

การบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย



การจัดประเภท และรูปแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในประเทศไทย

1. การจัดแบ่งตามโครงสร้างการบริหารตามขนาด แบ่งเป็น 3 ขนาด คือ


1) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดเล็ก


2) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดกลาง


3) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดใหญ่












การจัดประเภท และรูปแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ในประเทศไทย

2. การแบ่งตามรูปแบบตามพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ

(พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 )พ.ศ. 2545

 กล่าวไว้ใน มาตรา 15กำหนดการจัดการศึกษา มี 3 รูปแบบ คือ)

1.รูปแบบในระบบโรงเรียน

2.รูปแบบนอกระบบโรงเรียน

3.รูปแบบตามอัธยาศัย


การบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในยุคปฏิรูป

ความหมาย การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
(School Based Management)

คือ การบริหารโดยกระจายอำนาจทางการศึกษาไปยังสถานศึกษาโดยตรงให้มีอำนาจหน้าที่ความ

รับผิดชอบและความคล่องตัวในการบริหารจัดการมากที่สุด



สรุปการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

 ( School-Based Management )

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management)

เป็นการถ่ายโอนอำนาจจากหน่วยงานไปให้แก่โรงเรียนได้บริหารแบบ

เบ็ดเสร็จที่โรงเรียนโดยมอบอำนาจการบริหารและจัดการศึกษาให้แก่

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งประกอบด้วยผู้ปกครอง   



  






การประเมิน : Evaluation



ตัวเอง

 เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองาน

เพื่อน

 เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน นำเสนองานได้ดีทุกกลุ่ม

อาจารย์ผู้สอน

 เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น มีการอธิบายเพิ่มจากการนำเสนองานของนักศึกษา

ห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์พร้อมใช้งาน